วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556

มะเร็งปอดหลีกเหลี่ยงได้แค่ปฎิบัติตัวเป็น




มะเร็งปอด เป็นเนื้องอกชนิดหนึ่งของหลอดลมและปอด แต่เป็นชนิดที่ร้ายแรง เริ่มแรกมะเร็งปอดจะเป็นก้อนขนาดเล็ก หากปล่อยไว้ก้อนจะโตขึ้นลุกลามเข้าแทนที่เนื้อปอดปกติ และกระจายไปสู่อวัยวะอื่นๆ เช่น ตับ สมอง กระดูก เป็นต้น


1.บุหรี่ จากการศึกษาวิจัยของนักวิทยาศาสตร์และแพทย์ทั่วโลกยืนยันว่า มะเร็งปอดเกี่ยวข้องโดยตรงกับการสูบบุหรี่ ทั้งผู้สูบเอง และผู้ได้รับควันบุหรี่


      

การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งปอด
       
ผู้สูบบุหรี่โดยเฉลี่ยมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดมากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ 12 เท่า    
ผู้ที่สูบบุหรี่นานไม่เกิน 20 ปี จะมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดมากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ ถึง 9 เท่า
       
ผู้ที่สูบบุหรี่นานระหว่าง 21-40 ปี มีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดมากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ ถึง 30 เท่า
       
ผู้ที่สูบบุหรี่นานระหว่าง 41-60 ปี มีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดมากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ ถึง 47 เท่า
       
ผู้ที่เป็นมะเร็งปอดร้อยละ 80 จะเสียชีวิตภายใน 1 ปี
       
ผู้ที่ต้องดูดควันบุหรี่ของคนอื่น เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งด้วย
ประโยชน์ของการหยุดบุหรี่

ถ้าผู้สูบบุหรี่ สามารถหยุดบุหรี่ได้ทัน ก่อนที่ปอดจะได้รับความเสียหายอย่างถาวร โอกาสของการเกิดโรคมะเร็งปอดจะลดลงทันที
       
ผู้สูบบุหรี่ สามารถหยุดสูบบุหรี่ได้นาน 10-15 ปี จะลดอัตราเสี่ยงของโรคมะเร็งปอดได้ครึ่งหนึ่ง
       
สำหรับผู้ที่เป็นมะเร็งปอดแล้ว การเลิกสูบบุหรี่จะทำให้อาการดีขึ้น และอยู่ได้นานขึ้นกว่าผู้ที่ยังคงสูบบุหรี่ต่อไป
       

        เป็นแร่ธาตุที่ใช้ในอุตสาหกรรมหลายชนิด เช่น การก่อสร้าง โครงสร้างอาคาร ผ้าเบรค ครัช ฉนวนความร้อน อุตสาหกรรมสิ่งทอเหมืองแร่  




ผู้ที่เสี่ยง ได้แก่ ผู้ที่ทำงานในสิ่งแวดล้อมที่มีการใช้แอสเบสตอส เป็นส่วนประกอบ

 ระยะเวลาที่สัมผัสฝุ่นแอสเบสตอสจนเป็นมะเร็งปอด อาจใช้เวลา 15-35 ปี
       
ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ แต่ทำงานกับฝุ่นแร่แอสเบสตอส เสี่ยงต่อมะเร็งปอด มากกว่าคนทั่วไป 5 เท่า


เป็นก๊าซกัมมันรังสีไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส เกิดจากการสลายตัวของแร่ยูเรเนี่ยมในหินและดิน กระจายอยู่ในอากาศและน้ำใต้ดินในที่ๆ อากาศไม่ถ่ายเท เช่น ในเหมืองใต้ดิน อาจมีปริมาณมาก ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอดได้



       
4.มลภาวะในอากาศ ได้แก่ ควันพิษจากรถยนต์ และโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น






อาการ : ระยะแรกของโรค จะไม่มีอาการใดๆ บ่งชี้อย่างแน่ชัด เมื่อโรคลุกลามมากแล้วอาการที่อาจพบ ได้แก่

       
ไอเรื้อรัง \ ไอเป็นเลือด     

หอบเหนื่อย \ เจ็บแน่นหน้าอก
       
น้ำหนักลดรวดเร็ว \ เบื่ออาหาร  

กลืนอาหารลำบาก    

เสียงแหบ

มีก้อนที่คอ (มะเร็งกระจายมาตามต่อมน้ำเหลืองที่คอ)   

ปวดกระดูกซี่โครง ไหปลาร้า ปวดกระดูกสันหลัง (มะเร็งกระจายมากระดูก)      

แขน ขา อ่อนแรง (มะเร็งกระจายไปสมอง)  

ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะ อุจจาระได้

 โดยอาการดังกล่าวมักเป็นอาการร่วมของโรคต่างๆ ได้ เพราะฉะนั้นหากมีอาการดังกล่าวควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษาและวินิจฉัยที่ถูกต้องต่อไป





1.ถ่ายภาพเอกซเรย์ปอด, เอกซเรย์คอมพิวเตอร์    

2.ตรวจเสมหะที่ไอออกมาเพื่อหาเซลล์มะเร็ง (Sputum Cytology)

3.ส่องกล้องตรวจดูภายในหลอดลม (Bronchoscopy)    

4.ขลิบชิ้นเนื้อจากหลอดลมหรือต่อมน้ำเหลืองบริเวณไหปลาร้า ไปตรวจ

เพื่อการวินิจฉัยทางพยาธิวิทยา (Biopsy, Scalene node biopsy)


1.การผ่าตัด      

2.รังสีรักษา       

3.เคมีบำบัด
       
4.การรักษาแบบผสมผสานวิธีดังกล่าวข้างต้น
       
5.การรักษาแบบประคับประคอง

       
1.เลิกสูบบุหรี่    

2.หลีกเลี่ยงการได้รับมลพิษในสิ่งแวดล้อม     

3.รับประทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น และอาหารที่มีวตามินซี วิตามินอี
รวมทั้งเซเลเนียม เช่น ข้าวซ้อมมือ รำข้าว และออกกำลังกายสม่ำเสมอ อาจลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอด
       
4.การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง การดื่มสุรา อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอดได้



สั่งซื้อและเป็นตัวแทนจำหน่าย ที่

คุณ วราพร แคล้วศึก

โทร. 085-9083178


อีเมลล์    pannfitcancer@gmail.com

มะเร็งปากมดลูก





มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งชนิดเดียวเท่านั้นที่ป้องกันได้ เพราะสามารถตรวจค้นหาความผิดปกติได้ง่าย นอกจากนั้น ยังเป็นมะเร็งที่ใช้เวลาในการกลายพันธุ์ค่อนข้างช้ำ โดยใช้เวลาอย่างน้อย 5 – 7 ปี เนื้อที่ผิดปกติจึงจะกลายเป็นมะเร็ง แต่ถ้าหมั่นตรวจเช็คร่างกายก็จะลดโอกาสของการเกิดมะเร็งได้

อาการ ระยะแรก จะไม่ปรากฏอาการใดๆ แต่ตรวจพบได้จากการทำ Pap Smear ระยะลุกลาม จะมีอาการดังนี้

ตกขาวมีกลิ่น มีเลือดออกทางช่องคลอด หรือตกขาวลักษณะคล้ายน้ำคาวปลา ถ้าเป็นมากอาจถ่ายปัสสาวะเป็นเลือด ถ่ายปัสสาวะลำบาก หรือมีอาการผิดปกติของระบบขับถ่ายอุจจาระได้

มีเลือดออกผิดปกติหลังประจำเดือนหมด เลือดอาจออกเป็นน้ำหรือมีเลือดปนตกขาวในระยะแรก ต่อมาจะเป็นเลือดมากขึ้นและพบได้บ่อยหลังประจำเดือนหมด แต่อาจพบได้ในวัยใกล้ๆ หมดประจำเดือนก็ได้

•นอกจากนี้มะเร็งอาจกระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ เช่น ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ ปอด ตับ และกระดูก เป็นต้น


ความรู้สึกปวดหน่วงในท้องน้อยโดยเฉพาะเวลาเย็น สตรีบางคนอาจมีอาการเจ็บเสียวทางข้างซ้าย-ขวาของท้องน้อยได้ บางครั้งเจ็บปวดมากถึงขนาดตัวงอ ทั้งนี้เนื่องจากเส้นพังผืดที่ยึดมดลูกอาจถูกดึงรั้ง เนื่องจากขนาดของเนื้องอกที่โตขึ้นทำให้มดลูกเอียง หรือถ่วงมดลูกไปทางใดทางหนึ่ง

อาการปวดท้องโดยเฉพาะช่วงระหว่างมีประจำเดือนและปัญหาเกี่ยวกับเลือดระดูมาบ่อยหรือมานานและมีจำนวนมาก มักพบในสตรีที่มีเนื้องอกแทรกอยู่ในผนังมดลูกหรือยื่นเข้าไปข้างในโพรงมดลูก ถ้าเนื้องอกยื่นออกมานอกมดลูกมักไม่เกิดอาการผิดปกติ นอกจากจะไปกดอวัยวะอื่นในอุ้งเชิงกรานหรือขั้วของเนื้องอกบิดเกลียว

เนื้องอกนี้อาจทำให้สตรีมีระดูยาวนาน และมากพอจนทำให้เกิดโลหิตจาง คือ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ซูบซีด และเป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้แพทย์ตัดสินใจทำการผ่าตัด ขนาดของเนื้องอกรวมทั้งตำแหน่งของมันอาจไปกดกระเพาะปัสสาวะ เบียดเนื้อที่ในกระเพาะปัสสาวะให้เล็กลง ซึ่งทำให้สตรีผู้นั้นมีปัญหาทางปัสสาวะบ่อย หรือถ้าก้อนเนื้องอกไปกดตรงท่อไตที่นำปัสสาวะจากไตลงสู่กระเพาะปัสสาวะ อาจทำให้เกิดปัสสาวะคั่งในไตจนเกิดปัญหาเกี่ยวกับไตได้

นอกจากจะมีปัญหาในทางขับถ่ายลำบากแล้ว อาการปวดหลังอาจพบได้ในกลุ่มสตรีที่มีเนื้องอก


มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย (ต่ำกว่า 20 ปี)

มีคู่ร่วมเพศสัมพันธ์หลายคน

มีการอักเสบของปากมดลูก เนื่องจากการติดเชื้อ Human Papilloma Visus

สตรีที่สูบบุหรี่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูก มากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่

ภูมิคุ้มกันบกพร่อง


การได้รับยาคุมกำเนิด diethylstilbestrol ระหว่างตั้งครรภ์


สั่งซื้อและเป็นตัวแทนจำหน่าย ที่

คุณ วราพร แคล้วศึก

โทร. 085-9083178


อีเมลล์    pannfitcancer@gmail.com

วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556

มะเร็งผิวหนัง






มะเร็งผิวหนัง เป็นมะเร็งที่สามารถพบได้เร็วกว่ามะเร็งชนิดอื่นเนื่องจากเห็นได้จากภายนอก สามารถรักษาให้หายขาดได้ ธรรมชาติของมะเร็งผิวหนังจะขยายตัวค่อนข้างช้าอาจนานถึง 5-6 ปี แต่ถ้าไม่รักษาจะมีผลต่ออวัยวะใกล้เคียงไปจนถึงเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้


1.ผื่นแอคตินิค เคราโตซิล ( Actinic Keratisis = AKS ) เป็นการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ผิวหนังที่ผิดปกติ โดยมีลักษณะเป็นผื่นขุยๆ มักพบบริเวณหน้า แขน ลำตัว หลังมือ หรือบริเวณที่ได้รับแสงแดดมาก ถ้าไม่รักษาจะกลายเป็นมะเร็งผิวหนังได้  

2.มะเร็งบาซอล เซลล์ คาร์ซิโนมา ( Basal Cell Carcinoma = BCC ) เป็นมะเร็งผิวหนังที่ร้ายแรงน้อย เพราะเกิดบริเวณชั้นตื้นๆ มักเกิดการทำลาย เพราะบริเวณตำแหน่งที่เป็น ถ้าเป็นบริเวณใกล้เคียงอวัยวะที่สำคัญ เช่น ตา จมูก ปาก หู อาจทำให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะนั้นได้ มะเร็งชนิดนี้มักพบบริเวณ หู จมูก ใบหน้า หน้าอก หลัง ลักษณะที่พบมีหลายแบบ

 2.1 เป็นก้อนเนื้อนูนสีเดียวกับผิวหนัง หรือ ชมพูใส มีขอบ      อาจมีเลือดออกบ่อยๆ
 2.2 ลักษณะคล้ายสิว เป็นๆ หายๆ มักมีเลือดออก
 2.3 ลักษณะเป็นก้อนแบนแข็งติดกับผิวหนัง
 2.4 ลักษณะเป็นก้อนขุย มีสะเก็ดดำเลือดออก

อาการที่สำคัญ คือ มีการระคายเคืองบริเวณก้อนเนื้อ แผลเรื้อรัง เป็นๆ หายๆ มีเลือดออก

3.มะเร็งสะแควมัส เซลล์ คาร์ซิโนมา ( Squamous Cell Carcinoma = SCC ) ลักษณะคล้ายกับมะเร็งบาซอล เซลล์ คาร์ซิโนมา การลุกลามมักเร็วกว่ามะเร็งชนิด บาซอลเซลล์ คาร์ชิโนมา มักจะลุกลามลงลึกสู่ด้านล่างของเซลล์ผิวหนัง ถ้าคลำดูผิวหนังด้านล่างมักจะพบว่าเป็นก้อนแข็งๆ    
4.มะเร็งแมลิกแนนท์ เมลาโนมา ( Malignant Melanoma ) ลักษณะคล้ายไฝดำ แต่จะกระจายอย่างรวดเร็วสู่อวัยวะภายใจสามารถทำให้เสียชีวิตได้อย่างรวดเร็วจัดเป็นมะเร็งชนิดร้ายแรงที่สุด
มะเร็งบาซอล เซลล์ คาร์ซิโนมา และมะเร็งชนิดสะแควมัส เซลล์ คาร์ซิโนมา พบได้ตั้งแต่ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป มักพบบ่อยในผู้ที่มีอายุ 60 - 80 ปี


1.แสงแดดซึ่งมีรังสีอัลตร้าไวโอเล็ท ในช่วงเวลา 10.00 - 15.00 น.
       
2.การระคายเคืองของสารเคมี เช่น การได้รับสารหนู ยาแผนโบราณ แหล่งน้ำ อาหาร  

3.การเป็นแผลเรื้อรังจะมีการเปลี่ยนแปลง มีการทำลายยีนส์ที่ควบคุมการแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนังตามปกติ

4.พันธุกรรม

       
หลีกเลี่ยงแสงแดดในช่วงเวลา 10.00 - 15.00 น. 

ใช้ครีมกันแดด ที่มีค่า SPF > 15
       
หลีกเลี่ยงภาวะที่เสี่ยงต่อการระคายเคืองของผิวหนัง เช่น การสัมผัสสารเคมีบ่อยๆ หรือ การใช้วัตถุขัดถูผิวหนังอย่างแรงๆ บางชนิดท่านทราบไหม ไฝบางชนิดอาจกลายเป็นมะเร็งผิวหนัง เราจะสังเกตได้อย่างไร

ไฝที่มีลักษณะขอบไม่เรียบ

สีไฝไม่สม่ำเสมอ
       
ขนาดโตมากกว่า 6 มม     

เมื่อแบ่งเส้นผ่าศูนย์กลางแล้ว ลักษณะของไฝสองข้างจะไม่เหมือนกัน


ถ้าเป็นผื่นแอคตินิค เคราโตซิส สามารถใช้การจี้ด้วยความเย็นในการรักษาก็เพียงพอ
       
ถ้าลุกลามเป็นมะเร็งบาซอล เซลล์ คาร์ซิโนมา ใช้วิธีการจี้ไฟฟ้า ร่วมกับการขูดผิวหนังหรือการตัดออกและการผ่าตัดพิเศษที่เรียกว่า Moh's Surgery ซึ่งวิธีการใดขึ้นอยู่กับอายุของผู้ป่วย สภาพร่างกายของผู้ป่วย และลักษณะของเนื้อที่ผิดปกติ ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัย     

ถ้าเป็นมะเร็ง สะแควมัส เซลล์ คาร์ซิโนมา ต้องใช้วิธีการ ผ่าตัด Moh's Surgery


หากเกิดแผลเรื้อรังมากกว่า 2 สัปดาห์ มีเลือดออก มีการเปลี่ยนแปลงของไฝ ปาน ควรรีบมารับการตรวจจากแพทย์ผิวหนังโดยเร็ว

สั่งซื้อและเป็นตัวแทนจำหน่าย ที่

คุณ วราพร แคล้วศึก

โทร. 085-9083178


อีเมลล์    pannfitcancer@gmail.com

มะเร็งตับอ่อน ไม่อ่อนเหมือนชื่อเสียแล้ว





มะเร็งตับอ่อน เป็นมะเร็งที่มีความรุนแรงมากชนิดหนึ่ง แต่เป็นมะเร็งที่ไม่ค่อยพบบ่อยนักเป็นมะเร็งของผู้ใหญ่เกิดในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
สาเหตุของการเกิดมะเร็งตับอ่อน
ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของมะเร็งตับอ่อนแต่พบว่าอาจมีปัจจัยเสี่ยงได้ดังนี้      

1.ในคนที่สูบบุหรี่จัด มีปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งตับอ่อนมากกว่า      

2.ในคนที่มีครอบครัวป่วยเป็นมะเร็งตับอ่อน มีโอกาสเป็นมะเร็งตับอ่อนได้สูงกว่า 
 
3.ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน มีปัจจัยเสี่ยงสูงกว่า


อาการของมะเร็งตับอ่อนเมื่อเริ่มเป็นมักไม่มีอาการต่อเมื่อก้อนมะเร็งโตมากขึ้นจะไปกดทับทางเดินน้ำดี ทำให้มีตัวเหลือง ตาเหลือง หรือ ปวดหลังได้ ซึ่งมักเป็นอาการที่พบได้ในโรคทั่วๆไป ไม่ใช่อาการเฉพาะของมะเร็งตับอ่อน

ถ้าโรครุนแรงมากขึ้น อาจมีอาการแน่นท้องจากมีน้ำในท้อง เบื่ออาหาร ผอมลง หรือมีอาการจากการที่โรคแพร่ไปยังอวัยวะอื่นๆ เช่น อาการปวดกระดูกจากการมีโรคแพร่ไปกระดูก เป็นต้น


มะเร็งตับอ่อนเป็นมะเร็งที่วินิจฉัยโรคได้ยากแต่อย่างไรก็ตามจากการ ซักประวัติ อาการ อาการแสดง และการตรวจร่างกาย ถ้าแพทย์สงสัยว่าเป็นโรค ตับอ่อน มักจะทำการตรวจเพิ่มเติม โดยการทำอัลตราซาวด์ หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ดูพยาธิสภาพของตับอ่อน และตับเพราะมะเร็งตับอ่อนกระจายไปตับได้สูง และอาจมีการตรวจเลือดเพื่อตรวจสารที่เรียกว่า ซี อี เอ (CEA) หรือ ซี เอ 19-9 (CA 19-9) ถ้าภาพอัลตราซาวด์ หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ พบมีก้อนเนื้อของตับอ่อนแพทย์มักทำการผ่าตัดเพื่อเอาก้อนเนื้อออก เพื่อการรักษาและเพื่อนำก้อนเนื้อไปตรวจพิสูจน์ทางพยาธิวิทยา (การตัดชิ้นเนื้อจากตับอ่อนก่อนผ่าตัดเพื่อการพิสูจน์ทางการพยาธิวิทยาก่อนการผ่าตัด มักทำไม่ได้เพราะมีอันตรายค่อนข้างสูง) ว่าใช่มะเร็งตับอ่อนหรือไม่

ก่อนผ่าตัดแพทย์จะมีการตรวจเลือดเพิ่มเติม ตรวจปัสสาวะ และภาพเอกซเรย์ปอด เพื่อดูสภาพร่างกายผู้ป่วยและดูว่ามีโรคแพร่กระจายไปปอดและตับหรือยัง


ระยะที่ 1    ก้อนมะเร็งลุกลามอยู่ในตับอ่อนหรืออาจเริ่มลุกลามเข้าลำไส้เล็กส่วนที่ อยู่ติดกัน

ระยะที่ 2    มะเร็งลุกลามออกนอกตับอ่อนเข้ากระเพาะอาหารและ / หรือม้ามและ / หรือลำไส้ใหญ่

ระยะที่ 3    มะเร็งลุกลามกระจายไปต่อมน้ำเหลืองแล้ว

ระยะที่ 4    มะเร็งลุกลามเข้ากระแสโลหิตแพร่ไปยังอวัยวะที่ไกลออกไปที่พบได้บ่อยคือ ตับ


วิธีการรักษาที่ใช้รักษามะเร็งตับอ่อนมี 3 วิธี ได้แก่ การผ่าตัด เคมีบำบัดและรังสีรักษา โดยทั่วๆ ไป เมื่อวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งตับอ่อนแพทย์จะแบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ทำผ่าตัดได้และกลุ่มที่ทำผ่าตัดไม่ได้

กลุ่มที่ทำผ่าตัดได้ คือ ผู้ป่วยที่โรคยังลุกลามไม่มากและมีสภาพร่างกาย แข็งแรง เมื่อผ่าตัดแล้วแพทย์จะนำก้อนเนื้อไปตรวจพิสูจน์ทางพยาธิวิทยา และถ้ามีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ก็จะมีการรักษาเพิ่มเติมโดย เคมีบำบัด หรือรังสีรักษาร่วมด้วย

กลุ่มที่ทำผ่าตัดไม่ได้ คือ กลุ่มที่โรคลุกลามมากแล้วแต่ยังแข็งแรงมักให้การรักษา โดยเคมีบำบัด ร่วมกับรังสีรักษาแต่ถ้าเป็นผู้ป่วยที่ร่างกายไม่แข็งแรงการรักษาจะเป็นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการ


ความรุนแรงของมะเร็งตับอ่อนขึ้นกับหลายปัจจัยที่สำคัญได้แก่
       
1.ระยะของโรคมะเร็งระยะยิ่งสูงความรุนแรงก็มากขึ้น      

2.สภาพร่างกายของผู้ป่วยถ้าร่างกายไม่แข็งแรงก็จะเป็นอุปสรรค ต่อการรักษา 
   
3.โรคร่วมอื่นๆ ที่มีผลต่อสุขภาพ เช่น โรคไต หรือโรคเบาหวาน เป็นต้น ......ก็จะเป็นอุปสรรคต่อการรักษา  

4.อายุ ผู้ป่วยสูงอายุมักทนการรักษาได้ไม่ดี


เมื่อให้การรักษาครบแล้ว แพทย์จะนัดตรวจติดตามโรคและดูแลผู้ป่วยต่อสม่ำเสมอ โดยภายใน 1-2 ปี หลังครบการรักษามักนัดตรวจทุก 1-2 เดือน ในปีที่ 3-5 หลังการรักษามักนัดตรวจทุก 2-3 เดือน และในปีที่ 5ไปแล้วมักนัดตรวจทุก 6-12 เดือน


ในการมาตรวจทุกครั้ง ควรนำญาติสายตรงหรือผู้ดูแลมาด้วย เพื่อร่วมพูดคุยปรึกษากับแพทย์โดยตรง และถ้ารับประทานยาอะไรอยู่ หรือมีการตรวจเพิ่มเติมจากแพทย์ท่านอื่นๆ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบด้วย เพื่อจะได้ให้การดูแลผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม

สั่งซื้อและเป็นตัวแทนจำหน่าย ที่

คุณ วราพร แคล้วศึก

โทร. 085-9083178


อีเมลล์    pannfitcancer@gmail.com