วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2556

มะเร็งหลอดอาหาร เป็นมะเร็งของผู้ใหญ่ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอายุอยู่ในช่วง 55-65 ปี โรคเกิดในเพศชายมากกว่าเพศหญิง







สาเหตุของมะเร็งหลอดอาหาร สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบแต่จากการศึกษาวิจัยพบปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญได้แก่

1.อาจมีความสัมพันธ์กับเชื้อชาติ เพราะอุบัติการณ์จะสูงกว่าในชาวอิหร่าน โซเวียตและจีน       

2.สุรา บุหรี่ เพิ่มปัจจัยเสี่ยง
       
3.การบริโภคสารพวกไนโตรโซ (Nitroso compound) หรือไนโตรซามีน (Nitrosamines) ซึ่งมีอยู่ในอาหารบางจำพวกในปริมาณสูงและบริโภคอย่างต่อเนื่องเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งหลอดอาหาร       

4.การรับประทานผัก ผลไม้มากๆ อาจลดปัจจัยเสี่ยง อาการและอาการแสดงของมะเร็งหลอดอาหาร ไม่มีอาการเฉพาะของมะเร็งหลอดอาหาร แต่จะเป็นอาการคล้ายคลึงกับโรคทั่วๆไปของหลอดอาหารที่พบบ่อย ได้แก่

1.กลืนอาหารไม่สะดวก รู้สึกติด หรือสำลัก

2.อาจมีเสลดปนเลือด 

3.ไอ สำลัก ขณะรับประทาน

4.อาจคลำต่อมน้ำเหลืองที่คอได้   

5.ผอมลงเพราะรับประทานไม่ได้หรือได้น้อย

ดังนั้น ถ้ามีอาการเหล่านี้ ควรปรึกษาแพทย์แต่เนิ่นๆ เพื่อการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง






ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการที่มีประสิทธิภาพที่จะตรวจคัดกรองมะเร็ง หลอดอาหารได้ตั้งแต่ในระยะเริ่มแรกเป็นโรคแต่อาจลดปัจจัยเสี่ยงลงได้ โดยการ หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ดังกล่าวได้แล้วได้ตอนต้น

การตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคและหาระยะของโรคมะเร็งหลอดอาหาร แพทย์จะตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งหลอดอาหารได้โดย

1.ซักประวัติ อาการ อาการแสดง การตรวจร่างกาย 
2.ถ้าสงสัยอาจตรวจเพิ่มเติมอื่นๆ ด้วยการกลืนแป้งตรวจหลอดอาหาร ซึ่งเป็นการตรวจทางเอกซเรย์เพื่อดูภาพ และพยาธิสภาพของหลอดอาหาร     
3.การส่องกล้องตรวจพยาธิสภาพของหลอดอาหารและตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ


เมื่อผลตรวจทางพยาธิวิทยา ระบุว่าเป็นมะเร็งแน่นอนแล้ว แพทย์มักตรวจเพิ่มเติมเพื่อประเมินสุขภาพของผู้ป่วย และหาระยะของโรคโดย
       
1.ตรวจเลือดดูการทำงานของไขกระดูก ตับ ไต เบาหวาน เป็นต้น

2.ตรวจปัสสาวะดูการทำงานของระบบทางเดินปัสสาวะ
       
3.ตรวจเอกซเรย์ปอดดูการแพร่กระจายของโรค     

4.อาจตรวจภาพอัลตราซาวด์ตับ ถ้าสงสัยว่ามีโรคแพร่กระจายไปตับ
       
5.อาจตรวจภาพสแกนกระดูก ถ้าสงสัยว่ามีโรคแพร่กระจายไปกระดูก
       
6.ในผู้ป่วยบางราย ถ้ามีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ แพทย์อาจส่งตรวจภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เพื่อดูการลุกลามของโรคไปยังอวัยวะอื่นๆ ใกล้เคียง หรือดูการแพร่กระจายของต่อมน้ำเหลืองในช่องอกหรือในช่องท้อง
การตรวจเพิ่มเติมต่างๆ ในผู้ป่วยแต่ละรายจะแตกต่างกัน ทั้งนี้จะเป็นไปตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์


ระยะที่ 1   
ก้อนมะเร็งมีขนาดเล็กยังอยู่เฉพาะในตัวหลอดอาหารยังไม่ลุกลาม

ระยะที่ 2
ก้อนมะเร็งลุกลามมากขึ้นลุกลามไปต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง

ระยะที่ 3   
มะเร็งลุกลามทะลุเนื้อเยื่อต่างๆ ของหลอดอาหารและมีการแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลืองข้างเคียง

ระยะที่ 4   
มะเร็งลุกลามเข้าอวัยวะข้างเคียง มีการกระจายไปต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ไกล
ออกไปหรือกระจายไปอวัยวะอื่นๆ ที่อยู่ไกลออกไป เช่น ปอด ตับ หรือกระดูก เป็นต้น



1.ระยะของโรคระยะที่สูงขึ้น โรคจะรุนแรงมากขึ้น
       
2.สภาพร่างกายของผู้ป่วย ถ้าแข็งแรงผลการรักษาจะดีกว่า
       
3.โรคร่วมอื่นๆ ที่มีผลต่อสุขภาพของผู้ป่วย เช่น เบาหวาน ความดัน เป็นต้น ก็จะเป็นอุปสรรคต่อการรักษาได้
       
4.อายุ ในคนสูงอายุ มักจะทนการรักษาได้ไม่ดี



การผ่าตัด จะเป็นวิธีการรักษาในมะเร็งระยะต้นๆ และเป็นมะเร็งหลอดอาหารในตำแหน่งที่สามารถผ่าตัดได้ โดยผ่าตัดเอาหลอดอาหารส่วนที่เป็นมะเร็งออกไป แต่ในโรคระยะลุกลามจนผู้ป่วยรับประทานทางปากไม่ได้ อาจมีการผ่าตัดเล็กทางกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กเพื่อให้อาหารทางสายยางแทน

รังสีรักษา โดยทั่วไปมักเป็นการฉายรังสีเพียงอย่างเดียว หรือฉายรังสีร่วมกับเคมีบำบัด หรือฉายรังสี เคมีบำบัด และผ่าตัด ซึ่งจะเป็นไปตามข้อบ่งชี้การแพทย์เป็นรายๆ ไป การฉายรังสีก็เช่นเดียวกัน การผ่าตัด จะมีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือใช้รักษาเพื่อควบคุมโรค ซึ่งจะใช้รักษาผู้ป่วยระยะลุกลามไม่มากและมี สุขภาพแข็งแรงและการรักษาแบบประคับประคองที่จะใช้รักษาผู้ป่วยที่เป็น มากแล้วหรือสุขภาพไม่แข็งแรง
เคมีบำบัด จะเช่นเดียวกัน มักใช้รักษาร่วมกับรังสีหรือร่วมกับรังสีและการ

ผ่าตัด

การติดตามผลการรักษา

ภายหลังให้การรักษาครบแล้ว แพทย์มักนัดตรวจรักษาเพื่อติดตาม ผลการรักษาโดยใน 1-2 ปีหลังการรักษา อาจนัดตรวจทุก 1-2 เดือน ปีที่ 3-5 หลังการรักษา อาจนัดตรวจทุก 2-3 เดือน ในปีที่ 5 ไปแล้วอาจนัดตรวจ ทุก 6-12 เดือน ในการมาตรวจรักษาแต่ละครั้ง ควรพาญาติสายตรงหรือผู้ดูแลมาด้วย เพื่อร่วมพูดคุยปรึกษากับแพทย์โดยตรง และควรนำยาและผลการตรวจต่างๆ ถ้ามีการตรวจรักษาจากแพทย์ท่านอื่นมาให้แพทย์ดูด้วย ทั้งนี้เพื่อจะได้มีการรักษาได้อย่างเหมาะสม






สั่งซื้อและเป็นตัวแทนจำหน่าย ที่

คุณ วราพร แคล้วศึก

โทร. 085-9083178


อีเมลล์    pannfitcancer@gmail.com

วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556

มะเร็งช่องปาก


ช่องปาก ประกอบด้วยอวัยวะต่างๆ ดังนี้ คือ ริมฝีปาก กระพุ้งแก้ม เหงือก ลิ้น และเนื่อเยื่อโดยรอบๆ ลิ้นทั้งด้านข้างสองข้างและ ด้านหน้าใต้ลิ้น มะเร็งของอวัยวะต่างๆ เหล่านี้ จะมีสาเหตุอาการ อาการแสดง การดำเนินโรค วิธีวินิจฉัย ระยะโรค การรักษาความรุนแรงของโรคเหมือนกัน มะเร็งช่องปากเป็นมะเร็งที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะอยู่ในวัยกลางคนขึ้นไป อายุเฉลี่ยจะประมาณ 60 ปี แต่ก็พบในคนอายุ 40 ปี หรืออายุต่ำกว่าได้ประปราย


1.สูบบุหรี่จัด สูบกล้อง

2.บริโภคเมี่ยง หมาก ยาฉุน ยาเส้นเป็นประจำ

3.ดื่มสุราจัด

4.อาจมีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อไวรัสชนิด เฮทพีวี (HPV)

5.มีความสัมพันธ์กับการอักเสบเรื้อรังชนิดไม่ติดเชื้อของเยื่อบุช่องปาก ซึ่งจะทำให้เยื่อบุช่องปากมีลักษณะเป็นฝ้าขาว หรือเป็นปื้นสีแดง


อาการที่พบได้บ่อยคือ เกิดเป็นก้อนเนื้อขึ้นตามตำแหน่งต่างๆ ของอวัยวะส่วนนั้น อาจลุกลามเป็นแผลหรือไม่ก็ได้ แผลอาจมีลักษณะคล้ายดอกกะหล่ำ หรืออาจเป็นแผลลึกเรื้อรัง แผลจะโตขึ้นเรื่อยๆ ไม่หายด้วยการใส่ยาต่างๆ หรือการรักษาวิธีทั่วๆไป อาจมีเลือดออกได้ง่ายและถ้ามีการติดเชื้อด้วยก็จะมีกลิ่นเหม็น
นอกจากนั้นถ้าเป็นโรคในระยะลุกลามจะคลำต่อมน้ำเหลืองที่คอได้ร่วมด้วย เป็นต่อมน้ำเหลืองที่โตโดยไม่เจ็บและมักอยู่ด้านเดียวกันกับก้อนเนื้อ


1.ซักประวัติและตรวจร่างกาย โดยเฉพาะของช่องปาก

2.ตัดชิ้นเนื้อเพื่อไปพิสูจน์ทางพยาธิวิทยา เมื่อวินิจฉัยได้แล้วว่าเป็นมะเร็ง แพทย์จะตรวจเพิ่มเติมดังนี้

                 - ตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการดูการทำงานของไขกระดูก ตับ ไต และเบาหวาน

                 - ตรวจปัสสาวะเพื่อดูโรคร่วมอื่นๆ ของโรคในระบบทางเดินปัสสาวะ

3.เอกซเรย์ปอดเพื่อดูการแพร่กระจายของโรคที่ปอด

4.อาจมีการตรวจเพิ่มเติมตามข้อบ่งชี้ เช่น การตรวจอัลตราซาวด์ตับ เพื่อดูการกระจายของโรคตับ หรือการตรวจเพิ่มเติมทางเอกซเรคอมพิวเตอร์ การตรวจเพิ่มเติมเหล่านี้ แพทย์จะทำตามข้อบ่งชี้ ไม่เหมือนกันในผู้ป่วยแต่ละราย


ระยะที่ 1    มะเร็งมีขนาดก้อนเล็ก ยังไม่ลุกลาม

ระยะที่ 2    มะเร็งลุกลามเข้าอวัยวะข้างเคียง

ระยะที่ 3    ก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ขึ้นและลุกลามเข้าอวัยวะข้างเคียง มาก  ขึ้น และมีการลุกลามไปต่อมน้ำเหลืองที่คอ

ระยะที่ 4    มะเร็งลุกลามเข้าอวัยวะข้างเคียงมากขึ้น ลุกลามเข้าต่อม น้ำเหลืองมากขึ้น ปากอ้าไม่ได้ ต่อมน้ำเหลืองที่คอมีขนาด โตมาก หรืออาจมีโรคแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ที่อยู่ไกลออกไป เช่น ปอด ตับ หรือกระดูก เป็นต้น


1.ระยะของโรค ระยะสูงขึ้นความรุนแรงของโรคก็สูงขึ้น

2.สุขภาพทั่วๆ ไป ถ้าแข็งแรงการรักษาจะได้ผลดีกว่า

3.โรคร่วมต่างๆ เช่น เบาหวาน โรคไต เป็นต้น ซึ่งจะเป็นอุปสรรค์ ต่อการรักษา

4.อายุ ในผู้ป่วยสูงอายุมักทนการรักษาต่างๆ ได้ไม่ค่อยดี


การผ่าตัด มักใช้รักษาโรคระยะที่ 1 ระยะที่ 2 หรือเริ่มๆ ระยะที่3 ที่ต่อมน้ำเหลืองยังมีขนาดเล็ก หลังการผ่าตัดแพทย์จะตรวจเนื้อที่ผ่าตัดออกไปทางพยาธิ ถ้ามีข้อบ่งชี้ก็จะให้การรักษาต่อเนื่องด้วยรังสีรักษาและอาจร่วมกับเคมีบำบัดด้วย

รังสีรักษา อาจเป็นวิธีการรักษาโดยใช้รังสีอย่างเดียว หรือรังสีร่วมกับการผ่าตัดหรือรังสีร่วมเคมีบำบัด หรือรังสี ผ่าตัดและเคมีบำบัด ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับข้อบ่งชี้เป็นรายๆ แตกต่างกันไป ถ้ามีการฉายรังสีมักใช้ระยะเวลาประมาณ 6-7 สัปดาห์ ฉายรังสีวันละ1 ครั้ง ติดต่อกัน 5 วันตามวันทำการ อาจมีการรักษาทางรังสีโดยการใส่แร่ ซึ่งจะมีข้อบ่งชี้เฉพาะเจาะจงรักษาได้เฉพาะผู้ป่วยบางรายเท่านั้น ซึ่งแพทย์จะประเมินจากข้อบ่งชี้เช่นกัน

เคมีบำบัด เป็นการรักษาที่มักใช้ร่วมกับการผ่าตัดและรังสี แต่ในผู้ป่วยบางรายที่ผ่าตัดและทำรังสีรักษาไม่ได้ ก็อาจใช้เคมีบำบัดเพียงวิธีการอย่างเดียวซึ่งมักเป็นกรณีการรักษาเพื่อประคับประคองและเช่นเดียวกับวิธีการรักษาอื่นๆ การใช้เคมีบำบัดก็ต้องมีข้อบ่งชี้แตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละรายไม่เหมือนกัน


การตรวจรักษาเพื่อติดตามผลการรักษา ภายหลังรักษาครบแล้ว แพทย์จะยังนัดตรวจรักษาผู้ป่วยต่อเนื่องเป็นระยะๆ ไป โดยในปีแรกหลังครบการรักษาแพทย์มักจะนัดทุก 1-2 เดือน ในปีที่ 2-3 อาจนัดทุก 2-3 เดือน ปีที่ 3-ปีที่ 5 อาจนัดทุก 3-6 เดือน และภายหลัง 5 ปีไปแล้ว มักนัดทุก 6-12 เดือน ในการมาพบแพทย์

ทุกครั้งแพทย์จะซักประวัติ ตรวจร่างกายและอาจมีการตรวจอื่นๆ ตามข้อบ่งชี้แตกต่างในผู้ป่วยแต่ละรายไม่เหมือนกัน ผู้ป่วยควรพบแพทย์พร้อมญาติสายตรงหรือผู้ดูแลผู้ป่วย เพื่อร่วมกันพูดคุยปรึกษากับแพทย์ เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม




สั่งซื้อและเป็นตัวแทนจำหน่าย ที่

คุณ วราพร แคล้วศึก

โทร. 085-9083178


อีเมลล์    pannfitcancer@gmail.com

วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2556

มะเร็งลำไส้ใหญ่ นับวันยิ่งใกล้ตัวมากๆ


อเมริกันเสียชีวิตจากโรคนี้ปีละ 60,000 คน และอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ ได้เพิ่มจาก 1 ต่อ 25 เมื่อ 30 ปีก่อน มาเป็น 1 ต่อ 20 ในปัจจุบัน วงการแพทย์จึงพยายามพัฒนาหาวิธีสำรวจหาปัจจัยเสี่ยง ที่ทำให้คนเป็นมะเร็งชนิดนี้ ลอดจนหาวิธีตรวจวินิจฉัยโรคให้พบตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม เพื่อจะได้รักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนปัจจัยที่ทำให้มีความเสี่ยงต่อมะเร็งชนิดนี้ คือ




อายุ คนที่เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนใหญ่คือราว 90% จะมีอายุเกิน 50 ปี 
  
เพศ  เผ่าพันธุ์ ในชาวอเมริกันนั้น ผู้ชายจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง
ลำไส้ใหญ่ มากกว่าผู้หญิง คนผิวดำจะมีความเสี่ยงมากกว่าคนผิวขาว แต่คนผิวดำในทวีปอัฟริกา กลับมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ต่ำมาก ดังนั้นความเสี่ยงเชิงเผ่าพันธุ์ จึงขึ้นกับว่าอยู่ในประเทศอุตสาหกรรมหรือเปล่า 
    
อาหาร อาหารที่อุดมด้วยไขมันและแคลอรี ซึ่งมีเส้นใยอาหารน้อย จะมีความเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ใหญ่สูง  
   
เนื้องอกโพลิป ถ้ามีเนื้องอกโพลิปอยู่ด้วยก็จะมีความเสี่ยงสูงขึ้น  
     
ประวัติครอบครัว คนที่มีญาติสนิทที่เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ก็จะมีปัจจัยเสี่ยงสูงขึ้น เช่น ถ้ามีน้องเป็นมะเร็งลำไส้ตรงคนหนึ่งแล้ว คนที่เหลือก็จะมีโอกาสเป็นมะเร็งแบบเดียวกัน ได้ราว 10-15 เปอร์เซ็นต์    
  
การออกกำลังกาย ผู้ที่มีกิจกรรมที่ใช้กำลังกายปานกลางจะมีความเสี่ยง ต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่น้อยลง   
    
แอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่ คนที่บริโภคทั้งสองอย่างนี้รวมกันจะมีความเสี่ยงสูงขึ้น   
  
โรคของลำไส้ บางอย่างทำให้ความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
การวินิจฉัยมะเร็งลำไส้ใหญ่นี้ ถ้าสามารถรู้รายละเอียดเกี่ยวกับตำแหน่ง ขนาด ชนิดของเซลล์มะเร็ง ระยะของโรคที่เป็นอยู่ จะช่วยบอกการพยากรณ์ของโรคได้ดีมาก ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามะเร็งก้อนที่เป็นอยู่นั้น ยังไม่ลุกลามออกนอกโพรงลำไส้ใหญ่ ยังไม่กระจายสู่ต่อมน้ำเหลืองแล้ว โอกาสที่จะผ่าตัดรักษาจนหายก็มี และที่สำคัญคืออัตราการรอดชีวิตเกิน 5 ปี (5 year survival rate) ซึ่งเป็นอัตราที่เขาใช้กันเวลากล่าวถึงมะเร็ง  จะสูงถึง 90 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้ามะเร็งลามไปถึงต่อมน้ำเหลืองแล้ว อัตรารอดชีวิตที่ 5 ปี จะลดเหลือ 65 เปอร์เซ็นต์ หรือต่ำกว่านั้น

กินอยู่อย่างไร ห่างไกลมะเร็ง       

1.พยายามรักษาสุขภาพให้แข็งแรง โดยการออกกำลังกายเป็นประจำ

2.อย่ากินอาหารดิบหรือสุกๆ ดิบๆ (โดยเฉพาะปลาน้ำจืดดิบ) หรืออาหารที่มีเชื้อรา (เช่น ถั่วลิสงบด พริกแห้ง หัวหอม กระเทียมที่ขึ้นรา)  
     
3.พยายามหลีกเลี่ยงอาหารโปรตีนหมัก เช่น ปลาร้า ปลาส้ม หมูส้ม แหนม หรือ เนื้อสัตว์ ที่หมักโดยผสมดินประสิว (เช่น เนื้อเค็ม กุนเชียง ไส้กรอก แฮม) ถ้าจะกินควรทำให้สุกเพื่อทำลายสารไนโตรซามีนเสียก่อน   

4.พยายามอย่ากินอาหาร หรือขนมที่ใส่สีย้อมผ้า (ซึ่งทำให้ดูสีสดใสน่ากิน) หรืออาหารที่มียาฆ่าแมลงเจือปน โดยเฉพาะ ดีดีที หรือยาที่เข้าสารหนู  

5.ลดอาหารที่มีไขมัน เช่น มันสัตว์  ของทอด ของผัดน้ำมัน  อาหารใส่กะทิ  และจำกัดการกินน้ำตาล และของหวาน และทางที่ดีควรกินอาหารที่ให้โปรตีน  จากถั่วเหลือง และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้     
  
6.กินผัก เช่น ผักใบเขียว ผักกะกล่ำ ดอกกะหล่ำ ผักคะน้า  ผลไม้  เช่น ฝรั่ง แอปเปิล มะละกอ องุ่น ฟักทอง มะเขือเทศ ส้ม  เมล็ดธัญพืช เช่น ข้าวกล้อง ข้าวโพด ข้าวฟ่าง งา ลูกเดือย ถั่วต่างๆ  หัวพืชต่างๆ เช่น เผือก มัน แครอต หัวไช้เท้า และพวกกล้วย อาหารเหล่านี้จะมีสารที่ช่วยป้องกันมะเร็ง เช่น กากใย  สารฟีนอล สารฟลาโวน สารแคโรทีน เป็นต้น 


 
7.ลดการกินอาหารรมควัน ย่าง หรือทอดจนเกรียม เพราะมีสารก่อมะเร็ง



  
8.จำกัดการกินเกลือและอาหารเค็ม ผู้ใหญ่กินเกลือวันละไม่เกิน 6 กรัม (7.5 มิลลิลิตร หรือหนึ่งช้อนชาครึ่ง) ส่วนเด็กวันละไม่เกิน 3 กรัมต่อ 1,000 กิโลแคลอรี

นอกจากการกินอาหารที่มีเส้นใยเยอะๆ อย่างผักผลไม้แล้ว สำหรับผู้อ่านที่มีอายุเกิน 50 ปี ควรตรวจร่างกายประจำปีด้วยนะคะ


อาการที่พึงระวัง อาจเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่


ถ่ายอุจจาระมีเลือดปน อุปนิสัยการขับถ่ายเปลี่ยนไป เช่น เคยถ่ายอุจจาระทุกวัน ก็เปลี่ยนไปมีอาการท้องผูก อุจจาระมีขนาดเล็กลง ปวดมวนท้อง ปวดถ่ายอุจจาระบ่อยๆ อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน โลหิตจาง เนื่องจากขาดธาตุเหล็ก และน้ำหนักลดโดยไม่ ทราบเหตุ




สั่งซื้อและเป็นตัวแทนจำหน่าย ที่

คุณ วราพร แคล้วศึก

โทร. 085-9083178


อีเมลล์    pannfitcancer@gmail.com

วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2556

มะเร็ง ระบบทางเดินปัสสาวะและอวัยวะสืบพันธุ์ชาย


ระบบทางเดินปัสสาวะและอวัยวะสืบพันธุ์ชายประกอบด้วย ไต กรวยไต และท่อไต กระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมาก อวัยวะเพศชาย องคชาต หรือลึงค์ ลูกอัณฑะ ถุงอัณฑะ มะเร็งที่พบบ่อย ได้แก่ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมาก ไต อวัยวะเพศชาย และมะเร็งที่พบได้ไม่บ่อยนักได้แก่ มะเร็งของลูกอัณฑะ ถุงอัณฑะ และท่อไต


ปัสสาวะเป็นเลือด ลิ่มเลือด โดยในระยะแรกเริ่มจะไม่มีอาการปวด พบในมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ และมะเร็งของไต

ปัสสาวะขัด ต้องเบ่ง หรือปัสสาวะออกกะปริดกะปรอย พบในมะเร็งต่อมลูกหมาก ระยะที่สอง

มีแผลเรื้อรังชนิดเลือดออกง่ายและมีกลิ่นเหม็น พบในมะเร็งของอวัยวะเพศชาย




หนังหุ้มอวัยวะเพศหรือหนังหุ้มลึงค์ไม่เปิด และมีอาการคันภายในหรือมีเม็ดที่คลำได้

บริเวณที่มีการเสียดสีมีการอักเสบไม่หาย เช่น มะเร็งถุงอัณฑะ

มีก้อนคลำได้ชัดเจนบริเวณสีข้าง (บริเวณไต) หรือบริเวณท้องน้อยเหนือหัวเหน่า (บริเวณกระเพาะปัสสาวะ)

มีก้อนและคลำได้ที่ลูกอัณฑะ กดไม่เจ็บและโตเร็ว

ต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบหรือซอกคอโต พบในรายที่มะเร็งกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองแล้ว

เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ผอมลง ไป ปวดกระดูก พบในระยะที่มีการกระจายของมะเร็งไปแล้ว


อายุ มะเร็งของไต กระเพาะปัสสาวะมักพบในคนอายุประมาณ 50 – 70 ปี มะเร็งองคชาตมักพบในคนวัยกลางคน และมะเร็งอัณฑะมักพบในวัยหนุ่มฉกรรจ์

มะเร็งของไตและกรวยไต เกิดร่วมกับการอักเสบเรื้อรังและนิ่วในไต เนื่องจากกินยาแก้ปวดประเภทฟีนาซีตินมากเกินไป

มะเร็งของกระเพาะปัสสาวะ เกิดบ่อยในคนที่สูบบุหรี่จัด ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมหรือมีมลภาวะ มีการอักเสบเรื้อรัง หรือเป็นนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

อาหารที่มีไขมันมากหรือสาเหตุทางพันธุกรรม ก็อาจมีส่วนที่ทำให้เกิดมะเร็งต่อมลูกหมากได้
       
ลูกอัณฑะที่ไม่ลงมาในถุงอัณฑะ มีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งสูง

การเสียดสีเรื้อรัง ทำให้เกิดแผลไม่หายแล้วกลายเป็นมะเร็ง เช่น มะเร็งของถุงอัณฑะ  
                 



สั่งซื้อและเป็นตัวแทนจำหน่าย ที่

คุณ วราพร แคล้วศึก

โทร. 085-9083178


อีเมลล์    pannfitcancer@gmail.com